วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม


หุ่นยนต์อุตสาหกรรม



การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์ โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า แขนกลซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน วันนี้นำมาให้ได้รู้จัก 6 ชนิด ดังนี้                     1.   Cartesian (Gantry) Robot  การประยุกต์ใช้งานเนื่องจากโครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดแนวการเคลื่อนที่ เหมาะกับงานเคลื่อนย้ายของหนักๆ หรือเรียกว่างาน Pick-and-Place เช่น ใช้โหลดชิ้นงานเข้าเครื่องจักร (Machineloading) ใช้จัดเก็บชิ้นงาน (Stacking)นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานประกอบ (Assembly)ที่ไม่ต้องการเข้าถึงในลักษณะที่มีมุมหมุน เช่น ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงาน Test ต่างๆ

ข้อดี
1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ
2. การเคลื่อนที่สามารถทำความเข้าใจง่าย
3. มีส่วนประกอบง่ายๆ
4. โครงสร้างแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่

ข้อเสีย
1. ต้องการพื้นที่ติดตั้งมาก
2. บริเวณที่หุ่นยนต์เข้าไปทำงานได้ จะเล็กกว่าขนาดของตัวหุ่นยนต์
3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุจากทิศทางข้างใต้ได้
4. แกนแบบเชิงเส้นจะ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลวได้ยาก


2. Cylindrical Robot การประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไปจะใช้ในการหยิบยกชิ้นงาน (Pick-and-Place) หรือป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องจักร เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าออกบริเวณที่เป็นช่องโพรงเล็กๆ ได้สะดวก

ข้อดี
1. มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
3. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC

ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. แกนที่เป็นเชิงเส้นมีความยุ่งยากในการ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลว


3. Spherical Robot (Polar)  การประยุกต์ใช้งานใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Vertical) เพียงเล็กน้อย เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าออกจากเครื่องปั้ม (Press) หรืออาจจะใช้งานเชื่อมจุด (Spot Welding)

ข้อดี
1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นเนื่องจากการหมุนของแกนที่ 2(ไหล่)
2. สามารถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก

ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) และส่วนประกอบ ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อนขึ้น


4. SCARA Robot การประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ SCARA จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูงเนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวระนาบและขึ้นลงได้รวดเร็วจึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องการความรวดเร็วและการเคลื่อนที่ก็ไม่ต้องการการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) ซึ่งส่วนใหญ่การประกอบจะอาศัยการหมุน (Rotation)ในลักษณะมุมต่างๆ นอกจากนี้ SCARA Robot ยังเหมาะกับงานตรวจสอบ (Inspection) งานบรรจุภัณฑ์

ข้อดี
1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว
2. มีความแม่นยำสูง

ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. ไม่สามารถหมุน (rotation)ในลักษณะมุมต่างๆได้
3. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนักPackaging)

5. Articulated Arm (Revolute) การประยุกต์ใช้งานทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม SpotWelding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสี งาน Sealing ฯลฯ

ข้อดี
1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว
2. มีความแม่นยำสูง

ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. ไม่สามารถหมุน (rotation)ในลักษณะมุมต่างๆได้
3. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก

6. Parallel Robot การประยุกต์ใช้งานParallel Robot หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Delta Robot เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแมงมุม ใช้การขยับในรูปทรงเรขาคณิตมีจุดเด่นในการขยับและจับชิ้นส่วนได้อย่างแผ่วเบาทำงานได้อย่างอิสระภายใต้แกน X Y และ Z เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์

Link
    Link คือ โครงสร้างของหุ่นยนต์ที่เป็นท่อนแขน มีหน้าที่ในการเข้าสู่พื้นที่การทำงาน หุ่นยนต์อุตสาหกรรมชนิด Articulate Robot จะมี Link อยู่จำนวน 2 Link ดังนี้
    Link ท่อนบน หรือ Upper Link เป็นส่วนของท่อนแขนบนสำหรับเข้าสู่พื้นที่การทำงาน
    Link ท่อนล่าง หรือ Lower Link เป็นส่วนของท่อนแขนที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักทั้งหมดที่เกิดขึ้นของตัวหุ่น

Joint คือ โครงสร้างของหุ่นยนต์ส่วนที่เป็นข้อต่อที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่าง Link ของตัวหุ่นยนต์และยังทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ ที่เราต้องการ


เครื่องจักร NC CNC DNC


เครื่องจักร NC


เครื่องจักร NC
         หมายถึง การควบคุมการเคลื่อนที่และการทำงานของเครื่องจักรกลด้วยรหัสคำสั่ง ที่ประกอบไปด้วยรหัสตัวเลข  ,รหัสตัวอักษร และรหัสสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อนำไปควบคุมเครื่องจักรให้เกิดการเคลื่อนที่ตามทิศทางที่กำหนด

ส่วนประกอบของเครื่องจักร NC
    1.Spindle เพลาหลัก
    2.Work table โต๊ะงาน
    3.Tool ใบมีด
    4.ระบบน้ำมันหล่อลื่น
    5.ระบบเป่าทำความสะอาด

ชนิดของ เครื่องจักร NC
    1.แกนหลักอยู่แนวนอน ชิ้นงานหมุน
    2.แกนหลักอยู่แนวตั้งฉากกับพื้น ใบมีดหมุน 

ลักษณะงานที่เหมาะกับเครื่องจักร NC
    • ชิ้นงานต้องมีความเที่ยงตรงสูง
    • มีความซับซ้อน
    • มีการดำเนินการหลายอย่างบนชิ้นงาน
    • เกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง

เครื่องจักร CNC




         เครื่อง CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตัวเครื่องจะทำงานตามแบบที่เราได้จัดใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไป และสามารถใช้ได้หลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรชนิดนี้กับงานโลหะที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำ หรือมีความซับซ้อนสูง โดยมีจุดประสงค์ในสร้างเครื่อง CNC ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติในแบบรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำงานในแบบที่ซับซ้อนได้ดี ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมมุมต่างๆ ได้อย่างละเอียด ทำให้ชิ้นงานออกมาดีนั่นเอง

ลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่สามารถใช้กับเครื่อง CNC ได้?
    – งานเฟอร์นิเจอร์
    – งานอุตสาหกรรมรองเท้า
    – งานอุตสาหกรรมยานยนต์
    – งานสถาปนิก หรือการออกแบบโมเด็มต่างๆ
    – งานผลิตอัญมณี
    – งานหล่อพระ, พระพิมพ์ หรืองานประติมากรรมต่างๆ
    – งานตกแต่ง หรือเครื่องแกะสลัก
    – งานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร
    – งานตกแต่งรถยนต์ หรือรถประเภทต่างๆ

ข้อดีของการใช้เครื่อง CNC มีอะไรบ้าง?
    1. มีความละเอียดในงาน ทำให้งานต่างๆ ออกมาได้มาตรฐาน
    2. งานมีคุณภาพและเท่ากันทุกชิ้น เนื่องจากเป็นการสั่งงานโดยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ในเครื่องจักร ทำให้งานที่ได้เกิดความผิดพลาดได้น้อยมากๆ หรือแทบไม่มีผิดพลาดเลย
    3. สามารถผลิตงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว และใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย ประหยัดพื้นที่ในการเก็บชิ้นงาน
    4. ทำงานได้ดีแม้ว่าชิ้นงานจะมีความยากและซับซ้อนสูง
    5. ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานลง และลดแรงงานในการผลิตลง

ข้อเสียของการใช้เครื่อง CNC มีอะไรบ้าง?
    1. ตัวเครื่องมีราคาค่อนข้างสูงมาก จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะในประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตเครื่องจักรชนิดนี้ได้ และค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรมีราคาสูงมากเช่นกัน
    2. หากเครื่องมีปัญหาต้องส่งซ่อมซึ่งมีราคาค่าซ่อมสูงมาก เนื่องจากต้องใช้ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องการแก้ไขโปรแกรมพอสมควร
    3. ต้องใช้งานเครื่องจักรเป็นประจำ หากปล่อยทิ้งไว้ในบางช่วงที่ไม่มีงานอาจทำให้เครื่องเสื่อมสภาพได้
    4. จำเป็นต้องมีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เขียนโปรแกรม NC
    5. ไม่เหมาะกับงานจำนวนน้อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง

เครื่องจักร CNC ประเภทต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต ดังนี้


        เครื่องกลึงซีเอนซี สำหรับกลึงงานประเภทที่มีรูปทรงกระบอก 2 มิติ หรือกัดชิ้นงาน


     เครื่องกัดซีเอนซี แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ ( Machining Center ) สำหรับการกัดชิ้นงาน 3 มิติ



     เครื่องตัดซีเอนซีโลหะด้วยลวด สำหรับตัดแผ่นโลหะหนาด้วยลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นผลทำให้วัสดุหลอมเหลวและหลุดออกไปตามแบบที่ต้องการ


     เครื่องซีเอนซี อีดีเอ็ม สำหรับกัดชิ้นงาน 3 มิติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเล็คโตรดเพื่อทำการขึ้นรูปชิ้นงานให้ได้ตามแบบที่กำหนด



    เครื่องซีเอนซีเจียรไน สำหรับเจียรไนให้ได้ผิวงานละเอียด เรียบมันวาวโดยแยกออกได้ดังนี้ การเจียรนัยราบ ( Surface Grinding ) การเจียรนัยกลม 
( Cylindrical Grinding ) และการลับคมตัดชนิดต่างๆ


    เครื่องซีเอนซีตัดแผ่นโลหะ สำหรับตัดแผ่นโลหะตามรูปแบบที่เราต้องการและความหนาของชิ้นงานไม่หนามาก เราสวามารถแยกประเภทวิธีการตัดได้ คือ เลเซอร์ ( Laser ), พลาสม่า ( Plasma ), น้ำ ( Water Jet )


   
     เครื่องซีเอนซีวัดโคออร์ดิเนต  สำหรับวัดขนาด หรือ โคออร์ดิเนตของตำแหน่งต่าง ๆ บนชิ้นงาน 3 มิติ


    เครื่องเจาะซีเอนซี สำหรับเจาะรูกลมและทำเกลียวสำหรับชิ้นงาน




    เครื่องพับแผ่นโลหะซีเอนซี สำหรับพับแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรง 3 มิติ หรือรูปทรงอื่นตามความต้องการ

    เครื่องคว้านซีเอนซี  สำหรับคว้านรูกลมให้ชิ้นงานสำหรับผิวงานละเอียด ซึ่งชิ้นงานมีขนาดใหญ่

ลักษณะพิเศษของ CNC
    1. เก็บข้อมูลเป็น ไฟล์ได้ และถ่ายโอนได้
    2. เก็บโปรแกรมได้จำนวนมาก
    3. แก้ไขโปรแกรมที่เครื่องได้
    4. เรียกโปรแกรมย่อยได้

เครื่องจักร DNC 


    
              คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูล ซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับและส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

ลักษณะพิเศษของ DNC
    • เก็บข้อมูลเป็น ไฟล์ได้ และถ่ายโอนได้
    • เก็บโปรแกรมได้จำนวนมาก

ระบบชดเชยชนิดต่างๆ

    ระบบชดเชยการสึกหรอ
    ระบบชดเชยการสั่นสะเทือน
   •  ระบบชดเชยความร้อน